คิดต่อยอดวิเคราะห์ ว่าทำไมถึงกระทบต่อตลาดหุ้น
เกริ่นนำ:
ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ เริ่มจากการล้มดีลข้อตกลงทางการค้าระหว่างยูเครน กับสหภาพยุโรป
โดยอดีตประธานาธิบดีของยูเครนที่ชื่อ “ยานูโควิช” การล้มดีลนี้เป็นสาเหตุให้ประชาชนโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกไม่พอใจและออกมาประท้วง
เพราะพวกเขาหวังว่าการร่วมกับยุโรป จะทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ยากจนเหมือนตอนที่อยู่กับรัสเซีย
(ดูตามแผนที่ด้านล่างจะเห็นว่า ฝั่งตะวันออกที่ชายแดนติดกับรัสเซีย และรัฐทางตอนใต้ที่ติดกับคาบสมุทรไครเมีย ยังใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร แต่ฝั่งตะวันออกที่ติดกับยุโรปได้รับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาพอสมควร จนคนพูดภาษารัสเซียเหลือน้อยกว่า 20%)
เรื่องราวเริ่มต้นจากปี 2004 จนถึง2022 ในปัจจุบัน
ผมแบ่งเป็น40ข้อได้ดังนี้ครับ:
0.)ยูเครนเคยอยู่ในการปกครองของจักรวรรดิรัสเซียมาเมื่อ100ปีที่แล้ว
1.)ยูเครนแบ่งเป็น”ตะวันตก(Pro-Euromaiden)” และ “ตะวันออก(Pro-Russian)” แบ่งได้ชัดจากผลการเลือกตั้งในปี 2004
2.)มีการประท้วงล้มรัฐบาลกล่าวหาว่าผลเลือกตั้งทุจริต
3.)วิคเตอร์ ยานูโควิช(ฝั่งโปรรัสเซีย)ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
4.)วิคเตอร์ ยุชเชนโก(ฝั่งตะวันตก) นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม เป็นผู้นำประท้วงตามสถานที่สำคัญต่างๆของเมือง (ใช้วิธีนัดหยุดงานประท้วง)
5.)ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลชนะ ยุชเชนโก ได้เป็นประธานาธิบดี
6.)ฝ่ายยุชเชนโกแตกคอกันเอง
7.)ยานูโควิช(ฝั่งโปรรัสเซีย) พลิกกลับมาชนะเลือกตั้งในปี 2010
8.)เขาพยายามจะให้ยูเครนสร้างความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปและยังคงผูกมิตรกับรัสเซียไว้
9.)ยานูโควิชเข้าเจรจากับกลุ่มประเทศยูเรเซีย(นำโดยรัสเซีย) และปฏิเสธความร่วมมือกับสหภาพยุโรป
10.)ประชาชนฝั่งตะวันตกเดินขบวนประท้วงในปี 2013
11.)รัฐบาลยูเครนสั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้กำลังสลายการชุมนุม
12.)เกิดการต่อสู้ระหว่างทั้งสองฝ่าย
13.)ยานูโควิช(ฝั่งโปรรัสเซีย) ถูกถอนตำแหน่งโดยสภายูเครน
14.)กุมภาพันธ์ 2014 “ยานูโควิชหนีไปยังรัสเซีย”
15.)รัฐบาลรักษาการเข้ามาควบคุมสถานการณ์แทน ประชาชนฝั่งโปรรัสเซียไม่พอใจ
โดยเฉพาะในรัฐไครเมีย มีการไปปิดสถานที่ราชการ และปลดธงชาติยูเครนลง
*16.)ประธานาธิบดีปูติน(รัสเซีย)เห็นว่ารัฐบาลรักษาการของยูเครนกำลังจะเข้าไปสวามิภักดิ์ตะวันตก
17.)ปูตินส่งกองกำลังไปยึดไครเมีย(เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ) ไม่มีการต่อต้านใดๆจากกองทัพยูเครน
และบางส่วนก็เลือกที่จะแปรพักต์ไปอยู่กับฝ่ายรัสเซีย
18.)กุมภาพันธ์2014 รัฐบาลยูเครนร้องเรียนให้ชาติตะวันตกช่วย องค์กรสหประชาชาติ และ NATO ออกมาต่อต้านการกระทำของกองทัพรัสเซีย
*19.)มีนาคม2014 รัสเซียถอนกำลัง
19.1)รัฐไครเมียประกาศลงประชามติข้อสรุปในพื้นที่พิพาท
19.2) ประชาชนในรัฐไครเมียจำนวน96.8% ลงคะแนนสนับสนุน “ให้เข้าร่วมกับรัสเซีย”
20.)รัฐบาลรัสเซียให้การสนับสนุนกลุ่มรัสเซียนิยมในจังหวัดโดเนตสก์ (Donetsk) และลูฮันสก์ (Luhansk) ให้ทำการสู้รบกับรัฐบาลยูเครน
21.)พฤษภาคม2014 ยูเครนเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ “ปีโตร โปโรเชนโก” ได้เป็นประธานาธิบดี(เขามีแนวคิดเข้าทางยุโรป)
22.)กองทัพรัสเซียเคลื่อนพลราว 30,000 ถึง 40,000 นายมาประชิดชายแดน
กองกำลังฝ่ายกบฎแข็งแกร่งขึ้น(จากการสนับสนุนของรัสเซีย)จนเอาชนะกองทัพยูเครนได้ในหลายสมรภูมิ
23.)การรปะทะระหว่างปี 2013 ถึง 2014 มีทหารยูเครนต้องสังเวยชีวิตเป็นจำนวนมาก
24.)ทั้งสองฝ่ายได้เข้าสู่ขึ้นตอนการเจรจาสงบศึก Minsk Protocolครั้งที่ 1 มีเนื้อหาคือ:
-ยอมรับสถานะพิเศษของจังหวัดทั้งสองในภูมิภาคดอนบัสให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น รวมถึงมีหน่วยงานท้องถิ่นที่จำเป็นเช่นตำรวจและศาล
-ตั้งจุดผ่านแดนร่วมกันระหว่างกองกำลังรัสเซียและยูเครน
-เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน
(https://en.wikipedia.org/wiki/Minsk_agreements#Minsk_Protocol)
25.)ยูเครนเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก เนื่องจากต้องเสียอำนาจการปกครอง และฝ่ายรัสเซียยังเข้ามามีบทบาทในบริเวณข้อพิพาทได้
แต่โปโรเชนโกก็ยอมลงนามในวันที่ 16 ตุลาคม 2014
26.)ข้อตกลงมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
27.)ปี 2015 ยูเครน, รัสเซีย, โดเนตสก์, และลูฮันสก์ เจรจาใน Minsk Protocolครั้งที่ 2
28.)ทั้งสองฝ่ายยอมรับข้อตกลง การถอนอาวุธหนักจากบริเวณข้อพิพาท, การนิรโทษกรรม-แลกเปลี่ยนเชลยศึก
และการยุติการปฏิบัติการของทหารต่างชาติในพื้นที่ดังกล่าว แต่มีข้อหนึ่งระบุว่า
“อนุญาตให้ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนสามารถจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธท้องถิ่นสำหรับป้องกันตนเอง”
ข้อตกลงนี้สร้างความได้เปรียบให้แก่ฝ่ายแบ่งแยกดินแดน
29.)มีการลงนาม Minsk Protocol ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2015 แต่การรบยังมีต่อเนื่อง
ฝ่ายกบฏได้ละเมิดข้อตกลงหลายครั้ง เกิดการสู้รบ ทหารและพลเรือนราว 150 รายเสียชีวิต
30.)เห็นได้ชัดว่าฝ่ายยูเครนไม่สามารถสู้ฝั่งกบฎ(ที่มีรัสเซียสนับสนุน) ได้จึงยอมทำสัญญาที่เสียเปรียบ
31.)รัสเซียผนวกไครเมียได้อย่างสมบูรณ์ จึงได้สร้าง “สะพานไครเมีย” เชื่อมระหว่างช่องแคบเคิร์ชกับรัสเซีย
ความยาว 19กิโลเมตร เปิดใช้งานในปี 2015 สะพานนี้ ปิดทะเลอาซอฟ*
32.)ทะเลอาซอฟ(Sea of Azov) เป็นทะเลขนาดเล็กที่มีทางออกเปิดสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สิ่งสำคัญคือ 100กิโลเมตร ขึ้นไปตอนบนของสะพาน คือท่าเรือทาการ็อกของรัสเซีย
ถือได้ว่าหลังสร้างสะพานเสร็จ รัสเซียคุมทะเลอาซอฟไว้แล้ว
33.)นับตั้งแต่สร้างสะพานเสร็จ ก็เกิดการใช้กำลังทางเรือ อ้างสิทธ์ทางทะเลกันหลายครั้ง แต่ไม่ได้มีการปะทะรุนแรง
34.)ปี 2018 เรือลากจูงและเรือหุ้มเกราะติดปืนของยูเครนต้องการผ่านช่องแคบเคิร์ทแต่รัสเซียเอาเรือสินค้าขนาดใหญ่ไปขวางไว้ใต้สะพาน โดยรัสเซียได้กล่าวหาว่า “ยูเครนได้พยายามรุกล้ำน่านน้ำรัสเซีย”
34.)ยูเครนยอมถอย โดยมีกองกำลังรัสเซียติดตามเข้าไปควบคุมเรือของยูเครนถึงในน่านน้ำสากล
35.)ทั้งสองประเทศต่างโทษว่าอีกฝ่ายเป็นคนเริ่มต้นการยั่วยุ
รัสเซียกล่าวว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ทางการเมืองของผู้นำยูเครน และขู่จะนำจรวดต่อต้านอากาศยานรุ่น S-400 มาประจำการในไครเมีย
35.)ยูเครนรู้ตัวว่าเสียเปรียบอีกแล้ว จึงไปเรียกร้องให้นาโต้และฝั่งยุโรปช่วยเหลือ รัสเซียได้รับแรงกดดันจากชาตินาโต้
36.)ปี2021 ปูตินเตือนไปยังกลุ่มประเทศนาโต้ว่า
รัสเซียจะไม่ยอมให้ฝ่ายตะวันตกให้การสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์และการฝึกสอนกำลังพลของยูเครน และรัสเซียพร้อมจะดำเนินมาตรการตอบโต้ทางทหาร
ประธานาธิบดีปูติน กล่าวเมื่อปลายปี2021
37.)รัสเซียกล่าวว่า สหรัฐกำลังทำผิดสัญญาซึ่งเคยให้ไว้กับประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ ในต้นยุค 1990s
ที่บอกว่าจะไม่ขยายอิทธิพลนาโต้มาในพื้นที่อิทธิพลของสหภาพโซเวียต
38.)ปัจจุบันนาโต้กลับขยายอิทธิพลมาที่ยูเครนที่มีชายแดนติดกับรัสเซีย
ทั้งการช่วยเหลือด้านอาวุธ และเทคโนโลยีทางทหาร เช่น เดนมาร์ก, อังกฤษ, เนเธอแลนด์, สเปน สนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารให้กับยูเครน
39.)นาโต้และทางสหรัฐอ้างว่า สหภาพโซเวียต ล่มสลายไปแล้ว
ขณะนี้มีเพียงรัสเซีย สัญญาที่ให้ไว้จึงถือเป็นโมฆะ!
40.)เหตุการณ์ดำเนินมาถึงปัจจุบันที่ยังหาจุดยุติไม่ได้
โดยรัสเซียเข้ายึดเฉพาะบริเวณยุทธศาสตร์สำคัญทางทหารไว้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของยูเครน
สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้น ผมจะสรุปในโฟสหน้าครับ
ว่าทำไมเขารบกันแค่รัสเซียกับยูเครน จึงส่งผลกระทบต่อทั่วโลก