Richard Demille Wyckoff(1873-1934) : ผู้บุกเบิกหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค
เริ่มต้นบทความนี้ เนื่องมาจากนักลงทุนหลายๆท่าน อาจเคยพบเห็น หรือคุ้นชินกับการใช้ และจดจำหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากมาย
ในอดีตนักวิเคราะ 5 ท่านที่หลักการยังคงนิยมใช้ เป็นตำนาน อันประกอบด้วย Charles Dow, Ralph Nelson Elliott, Arthur A. Merrill, William Delbert (Gann) และ Richard Demille Wyckoff
ท่านแรกที่ผมจะกล่าวถึงคือ Richard Demille Wyckoff เทคนิคของ Wyckoff ได้รับแรงบันดาลใจจากวิธีการซื้อขายของนักเทรดที่ประสบความสำเร็จหลายรายโดยเฉพาะ Jesse L. Livermore
ประวัติการค้นพบ:
– ในศตวรรตที่ 20 เมื่ออายุ 15 ปี Wyckoff ได้ทำงานเป็นเสมียน ในบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ก
– อายุ 20 ปี ก็ได้เลื่อนตำแหน่ง
– ศึกษาตลาด จากการสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคา
– ก่อตั้งวารสาร The Magazine of Wall Street มีสมาชิกกว่า 200,000 คนตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
– ได้รับโอกาสสัมภาษณ์ แนวคิดในการลงทุนของรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น JP Morgan และ Jesse Livermore
หรือ นักลงทุนผู้มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ทำให้เขาตกผลึกแนวคิด ออกมาเป็นแนวคิดของตัวเอง
– เห็นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยถูกนักลงทุนรายใหญ่เอาเปรียบ ซ้ำๆ นานวันเข้า จนเขาทนดูความโหดร้ายนี้ไม่ไหว
– เขาถ่ายทอดแนวความคิด “The Real Rules of the Game” หรือ กฎแห่งความจริงของเกมหุ้น
– ค.ศ.1930 เขาได้ก่อตั้งโรงเรียน (ต่อมากลายเป็นสถาบันการเรียนรู้ การเงินการลงทุน)
– เขาได้สร้างแม่แบบการเทรดเป็นหัวข้อหลัก 4 หัวข้อ
1.) Three fundamental laws
กล่าวถึงวงจรการทำราคาหุ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพฤติกรรมของกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ การสะสม-ไล่ราคา-แจกจ่าย-ทุบ อ้างอิงกับหลักจิตวิทยา และ Demand Supply
2.) The Composite Man concept
3.) A methodology for analyzing charts (Wyckoff’s Schematics);
4.) A five-step approach to the market
1.) Three fundamental laws: กฏพื้นฐาน 3 ข้อ ของ Wyckoff
1) The law of supply and demand determines the price direction
หัวใจหลักของ Wyckoff คือ กฏอุปสงค์(Demand) และ อุปทาน(Supply)
อุปสงค์ > อุปทาน = ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
อุปทาน > อุปสงค์ = ราคาก็ปรับตัวร่วงลงมา
อุปสงค์ = อุปทาน = ราคามักไม่เปลี่ยนแปลง
2.) The law of cause and effect
กฏของเหตุและผล ช่วยกำหนดเป้าหมายของราคา
ใช้วิธีนับจุด (Point and Figure Chart) เพื่อประเมินแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
สามารถวิเคราะห์เป็นระยะสะสม (Accumulation) ระยะแจกจ่าย (Distribution) ที่จะเกิดขึ้นในกรอบของราคา (Trading Range)
3) The law of effort
กฎของความพยายาม กล่าวว่า “เปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์เป็นผลมาจากความพยายาม แสดงโดยปริมาณการซื้อขาย”
สังเกตจากสัญญาณความขัดแย้ง (Divergence) ระหว่างปริมาณการซื้อขายและราคา
การเคลื่อนไหวของราคาสอดคล้องกับปริมาณ = มีโอกาสที่ดีมีแนวโน้มจะดำเนินต่อไป
แต่ถ้าปริมาณและราคาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ = แนวโน้มของตลาดก็มีแนวโน้มที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทาง
- สินค้าที่ราคาขึ้น Volume ไหลเข้าต้องลดลงเรื่อยๆ (Supply ลดลง)
- สินค้าที่ราคาลง Volume ไหลออกต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Supply มากเกินไป)
2.) The Composite Man concept: ตัวตนรายใหญ่ในจินตนาการของWyckoff
Composite Man = ตัวแทนของผู้เล่นรายใหญ่ที่สุด (ผู้ดูแลสภาพคล่อง) เช่นบุคคลที่ร่ำรวยและนักลงทุนสถาบัน ที่มักจะทำพฤติกรรมซ้ำๆเพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเอง มักควบคุมกรอบราคาเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถซื้อได้ในราคาต่ำและขายในสูงเป็นวัฏจักร
ประกอบด้วยสี่ขั้นตอน “สะสม-ไล่ราคา-แจกจ่าย-ทุบ”
”…all the fluctuations in the market and in all the various stocks should be studied as if they were the result of one man’s operations. Let us call him the Composite Man, who, in theory, sits behind the scenes and manipulates the stocks to your disadvantage if you do not understand the game as he plays it; and to your great profit if you do understand it.” — Wyckoff
”…ความผันผวนทั้งหมดในตลาดและในหุ้นต่างๆ คุณควรศึกษาราวกับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการดำเนินงานของคนคนเดียว เราเรียกเขาว่า “คอมโพสิตแมน”
ซึ่งในทางทฤษฎี เขาจะอยู่เบื้องหลังและทำให้คุณเสียเปรียบเมื่อคุณไม่เข้าใจเกมที่เขาเล่น แต่หากคุณเข้าใจ คุณจะมีกำไรมหาศาล”
การสะสม(Accumulation) : Composite Man สะสมทรัพย์สินก่อนนักลงทุนส่วนใหญ่
สังเกตว่า Volume ลดลงเรื่อยๆ ราคามีทิศทางไปด้านข้าง Side way ในกรอบแคบๆ
ขาขึ้น(Mark Up) : เมื่อมีหุ้นพียงพอและแรงขายหมดลง
เขาก็เริ่มผลักดันราคาขึ้นทำให้ดึงดูดนักลงทุน(Jump The Creek)
อุปสงค์จึงเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ และเมื่อแม้แต่คนทั่วไปตื่นเต้นมากพอที่จะมีส่วนร่วม เมื่อนั้นอุปสงค์จะอยู่สูงกว่าอุปทานมากเกินไป(Buying Climax)
อุปทาน < อุปสงค์
การกระจาย(Distribution) : Composite Man จะเริ่มกระจายการถือครองของเขา
ราคามีการเคลื่อนไหวทางด้านข้าง Side way "แต่จะไม่เกิดราคาสูงสุดใหม่"
ซึ่งดูดซับความต้องการจนกว่าจะหมดลง
ขาลง(Mark Down) : สังเกตว่า Volume เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Composite Man ทำการขายหุ้นของเขาเป็นจำนวนมากเขาก็เริ่มผลักดันราคาลง ด้วยปริมาณการขายจำนวนมหาศาล
อุปทาน > อุปสงค์ ระยะนี้จะเกิดขึ้นจนกว่าจะหมดแรงขาย
หลังจากขั้นตอนนี้สุดการสะสมใหม่จะเริ่มขึ้นอีกครั้ง
You need NOT be in the market ALL THE TIME!
คุณไม่จำเป็นต้องอยู่ในตลาดตลอดเวลา
3.) A methodology for analyzing charts (Wyckoff’s Schematics) : แผนผังของ Wyckoff
แบ่งขั้นตอนการสะสมและการกระจายออกเป็นส่วนย่อย ๆ ส่วนแบ่งออกเป็นห้าขั้นตอน (A ถึง E) ซึ่งจะอธิบายดังภาพด้านล่าง
และมีรูปแบบขึ้นหรือลงเป็นรูปแบบเดิมๆ
4.) A five-step approach to the market : แนวทางทั้งห้าของ Wyckoff
1.)Determine the current trend and the current position of the market
กำหนดจุดเข้าและมองแนวโน้ม สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานเป็นอย่างไร?
2.)Follow the trend by determining relative strengths or weaknesses
เลือกหุ้นที่มีเทรนแนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสินทรัพย์กับตลาด
3.)Select trades with a cause significant enough to produce a satisfactory effect (profit)
เลือกหุ้นที่ “เหมาะ” กับความต้องการที่จะลงทุน หาเหตุและผลของการขึ้นและลงของราคาว่าคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่
4.)Evaluate the readiness of an asset to respond immediately to its cause
ไม่ควรลังเล ควรที่จะทำตามกลยุทธ์ที่วางแผนไว้ตั้งแต่แรก กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะทำกำไร
3.)Time your trades to anticipate movements
ราคาหุ้นมีจุดกลับตัวเสมอ ควรวางกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า
สรุป: Wyckoff ใช้หลักทางจิตวิทยาของนักลงทุนรายใหญ่ ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมราคา ที่เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ตามหลัก อุปสงค์อุปทานและ Volume ที่เปลี่ยนไป
“Wyckoff จะไม่นำข่าวมาพิจารณาการซื้อขายของเขาเลย เขาจะใช้จุดอ้างอิงที่เขาเขียนไว้เสมอ เพราะเขาเชื่อว่ารายใหญ่มีความสามารถในการออกข่าวหรือควบคุมราคา แต่ราคาที่แท้จริง หรือกราฟไม่สามารถหลอกลวงนักลงทุนได้”
-ผู้เขียน
ใจความสำคัญคือให้ผู้อ่านจำรูปแบบพฤติกรรมราคาขึ้น(Accumulation) เพื่อรอจังหวะซื้อ
และพฤติกรรมราคาลง(Distribution) เพื่อหาจังหวะขาย หรือจุดคัท